ลำดับ อนุกรม – ตอนที่ 7: อนุกรมอนันต์
อนุกรมอนันต์ :: ต้องรู้ก่อนว่ามีผลบวกอยู่จริงๆ
ในการบวกเลขที่มีไม่รู้จบ สิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ (และเกิดขึ้นบ่อยๆ) คือเราไม่สามารถหาผลบวกได้ ตัวอย่างง่ายๆเช่น 1+1+1+1+… ไปเรื่อยๆถามว่าได้เท่าไหร่ คำตอบคือ “หาค่าไม่ได้” เพราะค่าของมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่รู้ว่าบวกไปสิ้นสุดเมื่อไหร่
เราสนใจผลบวกของอนุกรมอนันต์อยู่เหมือนกัน แต่ก่อนจะถามหาผลบวก จำเป็นต้องถามก่อนว่าอนุกรมนี้หาผลบวกได้จริงหรือเปล่า เพราะการหาผลบวกจำนวนเป็นอนันต์ตัวออกมาเป็นตัวเลขตัวหนึ่งได้นั้นไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยๆ
ถึงตรงนี้หลายคนคงเกิดความรู้สึกแปลกๆ ว่าการบวกตัวเลขเพิ่มเข้ามาเรื่อยๆอย่างไม่จำกัดจำนวนตัว มันจะได้ผลบวกที่เป็นตัวเลขจำกัดได้ยังไงกัน ลองดูตัวอย่างแบบนี้ก่อนแล้วอาจจะรู้สึกดีขึ้น
สมมุติว่ามีเค้กหนึ่งชิ้น เป็นเค้กที่อร่อยมาก แต่จะกินให้หมดก็เสียดาย อยากเก็บไว้กินให้ได้หลายๆวัน วิธีหนึ่งที่ใช้ได้ก็คือ “กินทีละครึ่งของที่มีอยู่” วันแรกกินไปครึ่งชิ้นก็จะเหลืออีกครึ่ง วันที่สองกินครึ่งของครึ่งคือหนึ่งในสี่ วันที่สามกินหนึ่งในแปด … เราจะพบว่ามีเค้กเหลืออยู่ทุกวันเสมอ ไม่ว่าจะผ่านไปนานเท่าไหร่ (ถ้ามันไม่เน่าไปซะก่อน) เพราะเราจะแบ่งส่วนที่เหลือไว้ในวันถัดไปเสมอ
ตัวอย่างนี้ทำให้รู้ว่า ไปเรื่อยๆนั้นมีค่าจำกัด แม้ว่าจะเป็นการบวกเลขจำนวนเป็นอนันต์ครั้ง แต่ผลบวกทั้งหมดนั้นมีค่าแค่ 1 เท่านั้นเอง สรุปแล้วอนุกรมอนันต์ก็สามารถบวกกันออกมาได้เป็นจำนวนจำกัดเหมือนกัน เพียงแต่เกิดสำหรับบางอนุกรมเท่านั้น
ผลบวกของอนุกรมอนันต์ เรียกว่า คือใช้ตัว S แทนคำว่า Sum เหมือนเดิม แต่ห้อยเครื่องหมายอนันต์ไว้
นี้ไม่ได้เขียนพร่ำเพรื่อ แต่ต้องรู้ซะก่อนว่ามันมีอยู่จริงๆ
อนุกรมอนันต์แบบไหนที่หา ได้
ตามความรู้สึกของเรา ถ้าจะบวกอะไรเป็นอนันต์ตัวแล้วได้ผลลัพธ์เป็นเลขตัวนึงที่ไม่เป็นอนันต์ ตัวท้ายๆของมันจะต้องมีค่าน้อยๆ และน้อยลงเรื่อยๆด้วย ภาษาคณิตศาสตร์ใช้คำว่าพจน์ท้ายๆของมันมีค่าน้อยลง “เร็วพอ” ที่จะทำให้อนุกรมลู่เข้า การถามว่าแบบไหนเร็วพออาจจะตอบยาก และถ้าจะตอบกันจริงๆก็เป็นเรื่องใหญ่ทีเดียว
เพื่อให้งานง่ายขึ้น เอาแค่ของที่เรารู้จักก็พอ
อนุกรมเลขคณิต หาผลบวกอนุกรมอนันต์ไม่ได้เลย ยกเว้น 0+0+0+…แค่อนุกรมเดียว เพราะโดยปกติลำดับอนันต์จะมีพจน์หลังๆที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ (ใหญ่นี้หมายถึงทั้งบวกและลบ ขอให้ไกลจาก 0 มากๆ) แม้แต่ลำดับคงที่เช่น 1, 1, 1, … พอบวกเป็นอนุกรมแล้วก็จะมีค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้หาผลบวกอนันต์ไม่ได้
อนุกรมเรขาคณิตมีอยู่สองกรณี เราจะเห็นว่าหน้าตาของลำดับเรขาคณิตขึ้นอยู่กับค่า r ถ้า r มากกว่า 1 ลำดับจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (หรือติดลบมากกว่า -1 ก็จะมีค่าใหญ่ขึ้นเหมือนกัน แต่พจน์จะเป็นบวก, ลบสลับกัน) แบบนี้อนุกรมอนันต์หาไม่ได้แน่ๆ
กรณีที่ r =1 ก็จะคือลำดับคงที่เหมือนในอนุกรมเลขคณิต ส่วน r = -1 จะได้ลำดับสลับ ทั้งคู่หาผลบวกอนันต์ไม่ได้เช่นกัน
มีกรณีเดียวที่จะหาค่าอนุกรมอนันต์ได้คือเมื่อ |r|<1 คืออยู่ระหว่าง -1 กับ 1 (เป็น 1 กับ -1 ก็ไม่ได้เพราะมันคือกรณีข้างบน)
สรุปแล้วมีแค่สองกรณี (ที่เรารู้จักในตอนนี้ แต่ที่จริงยังมีอีกมากมายที่เรายังไม่รู้จัก) ที่อนุกรมอนันต์จะหาค่าได้ นั่นคือเป็นอนุกรมเรขาคณิตที่มี r อยู่ระหว่าง -1 กับ 1 หรือเป็นอนุกรมเลขคณิตที่มีแต่ 0 ทุกพจน์ แปลว่าถ้าเป็นกรณีอื่นๆสรุปได้เลยว่าผลบวกอนันต์หาค่าไม่ได้ ไม่ต้องเสียเวลาไปคำนวณมัน
ถามว่าผลบวกอนันต์จะเป็นเท่าไหร่ ก็กลับไปดูสูตรผลบวกย่อยของอนุกรมเรขาคณิต
เมื่อ n มีค่ามากๆ (ลิมิตเข้าใกล้ infinity) จะน้อยลงเรื่อยๆจนเป็น 0 จึงเหลือแค่